เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้ เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่าง ๆ เข้าใจความหมายของหน้า-หลังและบน-ล่างของตัวเด็ก แต่ไม่เข้าใจระยะใกล้หรือไกลของสถานที่ เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมค่อนข้างสั้น สนใจการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่จะไม่สนใจความสำเร็จของกิจกรรมนั้น ๆ เด็กจะกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทำทันที โดยไม่สนใจว่างานนั้นจะสำเร็จหรือไม่
เด็กวัยเรียนนี้เป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุก ๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น เด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เข้าโรงเรียน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อนแล้วจึงค่อยเป็นประสบการณ์ไปหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ไกลตัวออกไป สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าเรียน จะสามารถเรียนรู้ได้ดี ถ้าทางโรงเรียนได้จัดสิ่งแวดล้อมโดยปล่อยให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มหรือเสริมพัฒนาการทางปัญญาของเด็กเป็นอย่างมาก เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยหรือก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง ค้นคว้าสิ่งเหล่านี้ของเด็ก ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพการ์ตูน สิ่งดังกล่าวนี้มี อิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการของเด็กในด้านอารมณ์ ภาษาและสติปัญญา เด็กวัยเรียนนี้วุฒิภาวะทุกด้านกำลังงอกงามเกือบเต็มที่ ทำให้เด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้นอีกหลายด้าน เป็นเพราะเด็กได้เรียนรู้กว้างขวางขึ้นในช่วงนี้ ทำให้เด็กสามารถที่จะคิดและแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวของตัวเอง
เด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น ชอบความตื่นเต้น พึงพอใจในสิ่งแปลกใหม่ จะหันเหไปสู่การเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อน ครู การเรียน การเล่นกับเพื่อน (Freud : Psychoanalytic Theory , Latency stage) เด็กจะใฝ่เรียนรู้และพยายามกระทำสิ่งต่างๆเพื่อให้เห็นว่าเขาสามารถทำได้หรือประสบความสำเร็จ อยากให้ผู้อื่นยอมรับในความสามารถของตนเอง (Erikson : ทฤษฎีจิตสังคม ขั้นที่ 4) ดังนั้น พ่อแม่ควรช่วยให้เด็กได้เกิดความรู้สึกว่าเขามีดี มีความสามารถ โดยการสนับสนุนให้เด็กได้ทำในสิ่งที่เขาชอบอย่างสุดความสามารถ หาจุดดี-จุดเด่นของตัวเด็กเพื่อชมเชย เป็นการบ่มเพาะความรู้สึกขยันหมั่นเพียรให้เกิดขึ้น เพราะความสามารถจริงของเด็กที่ปฏิบัติได้นั้น ยังต้องได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือจากผู้ใหญ่และสังคมในการช่วยให้เด็กมีศักยภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ (Vygotsky : Cultural-Historical Theory , Zone of Proximal Development) แต่ถ้าไม่ได้รับการส่งเสริม หรือได้รับการส่งเสริมที่มากเกินความสามารถของเด็ก เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า ไม่มีความสามารถ
พ่อแม่ควรทำความเข้าใจว่าเด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น สามารถคิดหาเหตุผล แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และสามารถเข้าใจกฏเกณฑ์ต่างๆได้ก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัดว่าความรู้ความเข้าใจเหล่านี้ก็จะต้องอยู่ในรูปธรรม เช่น การสอนให้เด็กทำความดี (นามธรรม) พ่อแม่จะต้องยกตัวอย่างให้อยู่ในรูปของพฤติกรรมที่เด็กสามารถปฎิบัติได้ เช่น การตั้งใจเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ เป็นการทำความดี (Piaget : Constructivist Theory ,Concrete operational stage)
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้จะเป็นลักษณะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ การประสานกันระหว่างมือกับสายตา เช่น การต่อบล็อก การเขียนหนังสือ จะเห็นได้ว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมจากบ้านสู่โรงเรียน ดังนั้น ทักษะการเข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน และทักษะทางภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง กระบวนการพัฒนาต่างๆจะเป็นในลักษณะของกระบวนการทางสังคมเข้ามาหล่อหลอมในตัวเด็ก เพราะวัยเด็กตอนปลายไม่ต้องการเล่นตามลำพังที่บ้านหรือทำสิ่งต่างๆร่วมกับสมาชิกของครอบครัวอีกต่อไป เพื่อนจึงเป็นบุคคลอันดับแรกๆที่เด็กจะเลือกปฏิบัติตาม ทั้งด้านการแต่งกาย ความคิด และพฤติกรรม เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างพ่อแม่กับเพื่อนเด็กมักจะทำตามและให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนมากกว่า ซึ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ เช่น เด็กจะเรียนรู้ถึงการยอมรับและมีความรับผิดชอบ การมีน้ำใจนักกีฬา และการมีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ เพื่อเป็นรากฐานในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะสามารถเห็นได้ว่า ช่วงอายุของเด็กในวัยเรียน 6-12 ปีนั้น ถือเป็นช่วงสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต และพัฒนาการต่างๆทางด้านสติปัญญา (higher cognitive functions) เป็นช่วงที่การทำงานของสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเต็มที่ ดังนั้นธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเด่นชัดในแต่ละขวบปี ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.kodomoclub.com
นิตยสารรักลูก
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
************************************************************************
เจ้าตัวเล็กในวัย 6 ขวบ
วัยนี้จินตนาการของเขานำโด่งมาแต่ไกลเลยค่ะ เขาจะมีความสุขมากถ้ามีคนดู
และสนุกไปกับ บทบาทที่เขากำลังเล่น เพราะฉะนั้นหาอะไรดีๆ ใส่ให้เขาได้เต็มที่เลยค่ะ
และสนุกไปกับ บทบาทที่เขากำลังเล่น เพราะฉะนั้นหาอะไรดีๆ ใส่ให้เขาได้เต็มที่เลยค่ะ
เกิดอะไรกับเจ้าตัวเล็กในวัยนี้บ้าง?
• สนุกกับการสื่อสาร
เขากำลังโตเต็มที่ โลกของเขาก็กำลังกว้างขึ้นเรื่อยๆ มีพ่อแม่ มีปู่ย่าตายาย
มีเพื่อนบ้าน มีเพื่อน ที่โรงเรียน มีคุณครู เพราะฉะนั้นเขาจะสนุกกับการพูดคุย
เริ่มอ่านหนังสือคล่องขึ้น เราเองต้อง อย่าลืมช่วยเขาเพิ่มเติมพัฒนาการด้านนี้
อย่างต่อเนื่องนะคะ อย่างเช่น
* หาหนังสือกลอนที่มีคำคล้องจองมาให้เขาอ่าน ช่วงวัยนี้เขาจะชอบมากค่ะ
* เขายังสนุกกับการเลียนแบบเสียงต่างๆ
* เด็ก 6 ขวบกำลังชอบอ่านหนังสือ เขาจะเริ่มมีหนังสือโปรดของตัวเองมากขึ้น
พาเขาไป ห้องสมุดหรือไปร้านหนังสือบ่อยๆ นะคะ
• ผู้กำกับน้อย
เขาเริ่มสนุกกับการหยิบสิ่งของรอบตัวมาใส่แทนจินตนาการของเขาค่ะ
อย่างเช่น เอาผ้าห่ม หรือกับผ้าเช็ดตัวมาทำเป็นถ้ำ หยิบถังน้ำใบเล็กมาใส่
แทนหมวกกันน็อคของทหาร จริงๆ ดูๆ ไป แล้วก็น่ารักดีเหมือนกันนะคะ
ประมาณว่า “ช่างคิดเหลือเกิน” อะไรที่เราไม่ใช้แล้วหรือเห็นว่า น่าจะใช้
เป็นอุปกรณ์การเล่นของลูกได้ ก็ให้เขาไปนะคะ เขาจะได้รู้สึกดีที่แม่
ไม่ดุเวลาเขาหยิบ ของในบ้านมาเล่น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหยิบได้ทุกอย่างนะคะ
อย่าลืมสร้างกฎกับเขาด้วยว่าอะไร ที่เขาห้ามเล่นซนเด็ดขาด และเพราะอะไร
วัยนี้เขากำลังสนุกกับการได้เป็น “ผู้กำกับน้อย” ยิ่ง ถ้าเขาเล่นกับเพื่อน
จะเริ่มมีการกำกับว่าคนนั้นคนนี้ทำอะไร ต้องพูดอะไร วิ่งเข้ามาได้ตอนไหน
ก็ดีในแง่การฝึกให้เขาเป็นผู้นำมากขึ้น แต่ต้องอย่าลืมว่าเขาก็ต้องเป็นผู้ตาม
ให้ได้เหมือนกัน ด้วยการสลับหน้าที่กับเพื่อนบ้าง ไม่ใช่เป็นผู้กำกับน้อย
อยู่คนเดียวนะคะ
• ตัวโตขึ้น
ร่างกายแข็งแรงขึ้น้ นับวันเขาจะยิ่งตัวสูงขึ้น น้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ จนเราอุ้ม
แทบไม่ไหวแล้วนะคะ อย่าลืมดูแล อาหารการกินของเขาด้วยนะคะว่า
ได้สารอาหารครบถ้วนรึเปล่า หรือเขามัวกินแต่อาหารไม่มี ประโยชน์์อย่างเดียว
ไม่อย่างนั้นร่างกายเขาจะเติบโตไม่เต็มที่ได้นะคะ อีกอย่างก็คือชวนเขา
เล่นกีฬาสนุกๆจะได้เป็นการฝึกให้เขาออกกำลังกายตั้งแต่เด็กไปในตัวด้วยค่ะ
ร่างกายเขาก็ จะยิ่งแข็งแรงไม่ป่วยง่ายค่ะ เจ้าตัวเล็กของเรากำลังโตเต็มที่
อยู่ลืมคอยเช็คนะคะว่าเสื้อผ้าคับ เกินไปรึยังรองเท้าลูกใส่พอดีเกินไปมั้ย
เพราะบางทีเขาเล่นซนจนไม่ได้บอกเราได้ค่ะ
• หนังสือดีๆ
ช่วยให้เขาเติบโตได้ดี ลองดูนะคะว่าลูกเราสนใจอ่านหนังสือแบบไหน
หรือถ้าไม่แน่ใจลองเลือกหนังสือให้เขาอ่านโดยดูจากความชอบของเขา
ก็ได้ค่ะ อย่าง ดนตรี ศิลปะ ตัวเลข ภาษา ทุกอย่างจะช่วยพัฒนาการ
ด้านการสื่อสารให้เขาได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ นอกจากนั้นแล้วเราเองก็ต้อง
พยายามให้เขาอ่านหนังสือหลากหลาย กลอนก็อ่าน หนังสือที่มี
รูปภาพก็อ่าน จะช่วยให้เขาค้นหาความชอบของตัวเองได้มากขึ้นด้วยค่ะ
• เล่นสนุกแบบสร้างสรรค์
อย่าปล่อยให้เขาเล่นจนดื้อซนกับเราแบบไม่ยอมฟังนะคะ ถึงเขาจะเล่น
ยังไงสุดท้ายก็ต้องมีเวลา จำกัด มีการเล่นที่จำกัด ไม่ใช่อิสระมาก
จนเกินไปจนเขาเริ่มกลายเป็นคนควบคุมเราแทน เขาต้อง เรียนรู้ว่า
ทุกอย่างมีกฎระเบียบ และไม่ใช่ว่าเขาจะทำได้ทุกอย่างเสมอไป เช่น
เวลาเล่นก็ให้เขา เลือกว่า แม่ให้หนูเล่นสักหนึ่งชั่วโมงแล้วไปอาบน้ำนะคะ
วันนี้หนูจะขี่จักรยานหรือเล่นฟุตบอล หลังจากนั้นก็ค่อยๆ สอนเขาในเรื่องอื่นๆ
เช่น การแต่งตัว การกิน ตามมาเองค่ะ เช่น ถ้าใส่ชุดนี้ ห้ามออกไปเล่น
เลอะเทอะนะคะ หรือหนูต้องกินข้าวเสร็จก่อนแม่ถึงให้หนูออกไปขี่จักรยานได้จ๊ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.enfababy.com/
***บทความที่เกี่ยวข้อง***
---------------------------------------------------------------------------------------
***บทความที่เกี่ยวข้อง***
- ภาพระบายสียานอวกาศ ระบบสุริยะ นักบินอวกาศ พร้อมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
แหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว...เที่ยวสนุก ได้ความรู้ ...ชลบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง
- "หาดนางรำ" หาดทรายขาว...น้ำทะเลใส ใกล้ๆ แค่สัตหีบ
- เที่ยวสวนผลไม้ "สวนผู้ใหญ่สมควร บ้านแลง" อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน
- ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลสัตหีบ
- หาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน
- ข้ามเรือไปเกาะแสมสาร ดำน้ำดูปะการัง สัตหีบ
- นั่งช้าง ที่ช้างไทยทัพพระยา
- ฟาร์มแกะพัทยา PATTAYA SHEEP FARM
- เที่ยวบิ๊กบี ฟาร์ม Big Bee Farm
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น