วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)
วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ
1. พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
3. พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6
4. เป็นวันที่ตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะ
ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
Magha Puja Day is one of the most important Buddhist celebrations which falls on the full moon day of the third lunar month (about last week of February or early of March).This day marks the great four events that took place during Lord Buddha's lifetime, namely;
- 1250 Buddhist monks from different places came to pay homage to Lord Buddha at Valuwan Vihara in Rajgaha, the capital of Magaha State, each of his own initiative and without prior notification or appointment.
- All of them were the enlightened monks (or Arahantas)
- All of them had been individually ordained by Lord Buddha himself (Ehi Bhikkhu)
- They assembled on the full moon day of the third lunar month.
On the evening of that day, Lord Buddha gave the assembly a discourse "Ovadha Patimokha" laying down the principles of His Teachings summarised into three acts, i.e. to do good, to abstain from bad action and to purify the mind.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, www.recovery.ac.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, www.recovery.ac.th
ดี
ตอบลบจริง
ลบใช่ไหม
ลบ