วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บุคคลสำคัญในสมัยอยุธยา


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระราชภารกิจของพระองค์ ได้แก่ การทำศึกสงคราม โดยเฉพาะสงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามยุทธหัตถี ที่ทรงรบกับพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งพระองค์ทรงมีชัยชนะ เป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์ หลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งล้านนา ล้านช้าง ไทใหญ่ และกัมพูชา รวมถึงพม่า ครั้งสุดท้าย คือ การเดินทัพไปตีเมืองอังวะ ซึ่งพระองค์ประชวรและสวรรคตที่เมืองหาง ใน พ.ศ. ๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะผู้กอบกู้เอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวไทยจึงยกย่องพระองค์ให้เป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ภาษาและคำทักทายในประเทศอาเซียน - ภาษาพม่า


ภาษาพม่าวันละคำ


หมวดเรียกบุคคล
หม่อง :           เด็กชายหรือหนุ่มโสด
อู :                ผู้ใหญ่หรือชายสูงวัย
ม่ะ:                เด็กผู้หญิงและสาวโสด
ดอว์:              ผู้หญิงที่มีการศึกษาทั้งโสดและแต่งงานแล้ว
อะโก:             พี่ชาย
อะมะ:             พี่สาว
อะเผ่:             พ่อ
อะเหม่ :          แม่
อะโพ :            คุณปู่/คุณตา
อะพวา:           คุณย่า /คุณยาย
เย่าจา :           ผู้ชาย
เหมมะ :          ผู้หญิง
ยีซา:               แฟน/คนรัก
หลีน:              สามี
มะย้า :            ภรรยา
หยิ่นมอง:         คนขับรถ
สะยา:             ครูชาย
สะยามะ :         ครูหญิง
ชิดตั้ด:            ทหาร
เย :                ตำรวจ
ไหน่หงั้นซาตา:  ชาวต่างประเทศ
โบเล่ :             ฝรั่ง
โยเดีย :           คนไทย
เหมี่ยนหม่า:      ชาวพม่า
 
หมวดอาหารการกิน
 
ทะมิ้นซ้าเดะ:        หิวข้าว
อะยาต่าชิเด่ะ:       อร่อย
วาบิ :                อิ่ม
ทะมิ้น :              ข้าวสวย
ซามปะหยิ่ว :        ข้าวต้ม
เก้างึน:               ข้าวเหนียว
เต็ดเต่ดลก :         มังสวิรัติ
อะย่วย :              ผัก
อะตีอะนัน:           ผลไม้

หมวดเครื่องดื่ม
 
เย :                   น้ำ
เหย่กะโดะ :         น้ำแข็งก้อน
เหย่ต้ะ :              น้ำเปล่า
เหย่นวย :            น้ำร้อน
เหย่เอะ :             น้ำเย็น
เยเคเนเย่ :          น้ำแข็ง

ตัวเลขน่ารู้
1-ติท          2-หนิท          3-โตง          4-เล          5-งา
6-เช่า          7-คูนิ            8- ชิท          9-โก         10-ต๊ะเซ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://praneearamdilokratblog.wordpress.com

ภาษาและคำทักทายในประเทศอาเซียน - ประเทศบรูไน


"เจมบิรา ดาปัด เบอ เตมู อันดา" 

"ยินดีที่ได้รู้จัก" 


ภาษาบรูไนวันละคำ

สวัสดี                          ซาลามัด ดาตัง
ขอบคุณ                       เตริมา กะชิ
สบายดีไหม                   อาปา กาบา
ยินดีที่ได้รู้จัก                 เจมบิรา ดาปัด เบอเตมู อันดา

                                (gembira dapat bertemu anda)
พบกันใหม่                     เบอจัมปา ลากิ (berjumpa lagi)
ลาก่อน                         เซลามัต ติงกัล
นอนหลับฝันดี                 มิมปิ๊ มานิส

                                 (mimpi manis)
เชิญ                            เม็นเจ็มพุด (menjemput)
ใช่                              ยา (ya)
ไม่ใช่                           ทีแด๊ก (tidak)
อากาศดีจัง                     บาอิค คอค่า (baik cauca)
อากาศร้อนมาก                ซังกัด พานัส
อากาศหนาวมาก              คอค่า ยัง ซังกัด เซจุ๊ค

                                 (cauca yang sangat sejuk)
ไม่เป็นไร                       ทีแด๊ก อปาอาปา (tidak apa-apa)

*หมายเหตุ : มาเลเซีย และ บรูไน ใช้ภาษาเดียวกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://praneearamdilokratblog.wordpress.com

ภาษาและคำทักทายในประเทศอาเซียน - ประเทศไทย


"ยินดีที่ได้รู้จัก" - " Nice to meet you"


ภาษาไทย/อาเซียนวันละคำ

สวัสดี   -   Hello

ขอบคุณ   -   Thank you

ขอโทษ   -   Sorry

กรุณา   -   Please

ลาก่อน   -   Good Bye


ศีล 5 แปลเป็นภาษาอังกฤษ

5 Precepts
ศีล 5 


1. To abstain from taking life (killing)
     ละเว้นจากการฆ่าสัตว์

2. To abstain from taking what is not given (stealing)
    ละเว้นจากการลักทรัพย์

3. To abstain from sexual misconduct
    ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

4. To abstain from false speech (telling lies)
    ละเว้นจากการพูดเท็จ

5. To abstain from intoxicants causing carelessness
    ละเว้นจากการดื่มสุราเมรัย


คำศัพท์น่ารู้

abstain            แปลว่า     ละเว้น
misconduct     แปลว่า     การประพฤติผิด
intoxicant       แปลว่า     ของมึนเมา
carelessness    แปลว่า     ความประมาท



วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ประวัติวันเข้าพรรษา, ประวัติวันเข้าพรรษาภาษาอังกฤษ ภาพประกอบ ภาพระบายสี



Click >>>ภาพประกอบ/ภาพระบายสีเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา

Click >>>ประวัติวันอาสาฬหบูชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

Click >>>ประวัติวันวิสาขบูชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

Click >>>ประวัติวันมาฆบูชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ทุกกรณี การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

ประวัติวันอาสาฬหบูชา, ประวัติวันอาสาฬหบูชาภาษาอังกฤษ ภาพประกอบ ภาพระบายสี





Click >>>ภาพประกอบ/ภาพระบายสีเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา

Click >>>ประวัติวันวิสาขบูชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

Click >>>ประวัติวันมาฆบูชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

Click >>>ประวัติวันเข้าพรรษาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์

ประวัติวันวิสาขบูชา, ประวัติวันวิสาขบูชาภาษาอังกฤษ ภาพประกอบ ภาพระบายสี





วันวิสาขบูชา  เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย 

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติวันมาฆบูชา, ประวัติวันมาฆบูชาภาษาอังกฤษ ภาพประกอบ ภาพระบายสี





วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)