สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชภารกิจของพระองค์ ได้แก่ การทำศึกสงคราม โดยเฉพาะสงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามยุทธหัตถี ที่ทรงรบกับพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งพระองค์ทรงมีชัยชนะ เป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์ หลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งล้านนา ล้านช้าง ไทใหญ่ และกัมพูชา รวมถึงพม่า ครั้งสุดท้าย คือ การเดินทัพไปตีเมืองอังวะ ซึ่งพระองค์ประชวรและสวรรคตที่เมืองหาง ใน พ.ศ. ๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะผู้กอบกู้เอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวไทยจึงยกย่องพระองค์ให้เป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชภารกิจของพระองค์ ได้แก่ การลดส่วยและงดเก็บภาษีอากรจากราษฎรเป็นเวลา ๓ ปีเศษ การประกาศใช้กฎหมายพระราชกำหนดและกฎหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง การส่งเสริมงานด้านวรรณกรรม การทำศึกสงครามกับเชียงใหม่และพม่า พ.ศ.๒๒๐๓ และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ลงมาอยุธยาด้วย ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศนั้น เจริญรุ่งเรืองมาทั้งประเทศตะวันออก และประเทศตะวันตกทั้งด้านการเชื่อมสัมพันธไมตรีและการป้องกันการคุกคามจากชาติต่างๆ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในประวัติศาสตร์ไทยมีความเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกล้เคียงอื่นเพราะอย่างน้อยก่อนที่จะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้น ก็ทรงให้ย้ายเมืองข้ามฝั่งจากบริเวณทิศใต้ ของเกาะเมืองมาตั้งอยู่บริเวณใจกลางพระนครปัจจุบัน และต่อมาทรงสถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณ ที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็ก คือวัดพุทไธศวรรย์ และได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณ เกาะเมือง อยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสาย อยู่ใกล้ปากอ่าวและอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพราะที่เป็นที่ราบลุ่ม
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระราชภารกิจของพระองค์ ได้แก่ การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น
ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก
ถึง พ.ศ. ๑๙๙๔
พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา
พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ
พ.ศ.๒๐๐๖
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น